ทำสีฝุ่น/สีน้ำ/สีน้ำมัน

รับทำสีโลหะ ทำสีสแตนเลส โลหะทุกชนิด

ทำสีฝุ่น/สีน้ำ/สีน้ำมัน

การทำสีที่P&Sให้บริการมีกี่ประเภท

1. ทำสีฝุ่น  
2. สีชนิดต่างๆ

สีฝุ่นคืออะไร?

การทำสีด้วยการพ่นสีฝุ่นเป็นกระบวนการทำสีที่นิยมมากในงานโลหะ เนื่องจากเป็นวิธีที่ให้สีสม่ำเสมอ และติดแน่นทนทาน 

กระบวนการทำสีฝุ่นเริ่มจากการเตรียมผิวชิ้นงานโดยการล้างคราบมันและสนิมด้วยน้ำยาเคมีหลายชนิด แล้วนำไปอบให้แห้งสนิทเพื่อเตรียมพ่น การพ่นสีฝุ่นจะใช้คุณสมบัติของไฟฟ้าสถิตย์ที่ผงสีเข้าไปยึดเกาะกับชิ้นงานโลหะ เมื่อพ่นแล้วจะต้องนำไปอบอีกครั้งที่อุณหภูมิที่เหมาะสมตามแต่สเปคที่ระบุของผงสีแต่ละชนิด

หากเลือกใช้ประเภทผงสีให้เหมาะสมกับงาน และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง การพ่นสีฝุ่นจะให้สีที่เรียบสวยและทนทานเกินสิบปี

ที่ P&S เรามีไลน์พ่นสีฝุ่นของเราเอง ดำเนินงานด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องวุ่นวายกับการติดต่อโรงพ่นสีซึ่งทั้งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การจบในที่เดียวจะช่วยท่านลดปัญหาผู้รับผิดชอบงาน ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการผลิต

สีพ่นที่ P&S รับทำมีกี่ประเภท?

P&S รัพ่นสีบนโลหะทุกประเภท ด้วยประสบการณ์ของเรา เราสามารถแนะนำและเลือกใช้วิธีการและประเภทสีที่เหมาะกับพื้นผิววัสดุ/การใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเตรียมผิวชิ้นงานก่อนทำสีได้อย่างถูกต้องเพื่อความคงทนต่อการใช้งานในระยะยาว

  • สี 1K : คือสีระบบ 1 องค์ประกอบ (1 Komponent) 
  • สี 2K : คือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) 

สีพ่น 1K VS 2K ต่างกันอย่างไร? 

 สี 1k คือ สีที่มีองค์ประกอบของตัวสีเพียงอย่างเดียว ในการใช้งานอาจจะต้องใช้ส่วนผสมกับตัวทำละลายอื่น ๆ เพื่อให้สะดวกในการใช้งานมากขึ้น แต่ตัวสารทำละลายต่าง ๆ จะไม่นับเป็นองค์ประกอบร่วม เพราะว่าตัวทำละลายระเหยออกไปหมดก็จะเหลือเพียงแต่สีที่แห้งตัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วสี 1k นั้นมีอีกชื่อหนึ่งว่า “สีแห้งเร็ว” 

– วิธีใ่ช้ : ต้องนำมาผสมกับตัวทำละลาย

– แห้งช้า : 1K Synthetic Enzymes สีน้ำมัน สีแบบนี้จะเป็นสีที่ แห้งช้าโดยที่เนื้อสีจะแห้งเองจากการทำปฏิกริยา Oxidation กับออกซิเจนในอากาศ

– แห้งเร็ว : 1K Nitrocellulose แห้งเมื่อสารทำละลายที่ใช้ผสมมีการระเหย ออกไปจนเหลือแต่ชั้นฟีล์มของสีนั่นเอง

สี 2k คือ สีที่มี 2 Komponent จะต่างจากสีแบบ 1K ตรงที่ สีแบบนี้จะมีองค์ประกอบที่ 2 นั่นคือ สารเร่งปฏิกริยา ไม่ว่าจะเป็น Hard หรือ Activator นั่นเอง ซึ่งจำเป็นต้องผสมทั้ง 2 องค์ประกอบอย่างสมส่วนและลงตัว จึงจะทำให้สีที่ออกมาทำปฏิกริยา แล้วเกิดการแห้งจากปฏิกริยาเคมี

– วิธีใช้ : ต้องผสมทั้ง 2 องค์ประกอบอย่างสมส่วนและลงตัว

– 2K Epoxy และ 2K Polyurethane ส่วนสารทำละลายหรือตัวเร่งปฏิกริยานั้น จะนิยมใช้เป็นสารในจำพวก Isocyanate ถ้าหากสีแบบ 2K

ผลงานของเรา

Related Services

รับตัดเลเซอร์ 3D

งานตัดเลเซอร์ ตัดชิ้นงานโลหะแผ่นที่ผ่านการปั๊มขึ้นรูปมาแล้ว

V-Cut

งานวีคัทแผ่นโลหะ สแตนเลสแผ่น แผ่นอลูมิเนียม

พับ/ม้วน

บริการตัดพับเหล็ก บริการม้วนโลหะแผ่น ขึ้นรูปโลหะแผ่น

Contact Us

ที่อยู่

16 ม.5 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540

Email